จากฮกเกี้ยนสู่ภูเก็ต…จุดเริ่มต้นและการเดินทางของ “โอ้เอ๋ว” สู่สำหรับยอดนิยม

จากฮกเกี้ยนสู่ภูเก็ต…จุดเริ่มต้นและการเดินทางของ “โอ้เอ๋ว” สู่สำหรับยอดนิยม

 

โอ้เอ๋ว  เป็นชื่อของหวานชนิดหนึ่งในมณฑลฮกเกี้ยนและไต้หวัน เป็นที่นิยมในรับประทานในช่วงฤดูร้อน และเผยแพร่เข้าสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยชาวจีนอพยพทำมาทำงานเป็นผู้นำพาเผยแพร่รับประทานจนเป็นที่นิยมซึ่งภูเก็ตก็เป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับการนำเข้าของ “โอ้เอ๋ว”

ต้นโอ้เอ๋ว เป็นพืชจำพวกมะเดื่อชนิดหนึ่งเป็นสายพันธุ์หนึ่งหรือชนิดย่อยประเภทหนึ่งของต้นตีนตุ๊กแกเกาะผนัง หรือ มะเดื่อเถา เมื่อผ่าออกมามีเมล็ดด้านในลักษณะคล้ายเมล็ดแมงลัก วิธีการทำวุ้นคือ ใช้เมือกโอ๋วเอ๋วที่ได้จากการแช่น้ำมาผสมกับเมือกของกล้วยน้ำว้าและนำเมล็ดสมุนไพรเจี่ยกอมาต้มกับน้ำด่าง จากนั้นผสมทั้งสองส่วนแล้วตั้งทิ้งไว้สักพักจึงตั้งไฟให้เดือด ทิ้งไว้แล้วกรองเอากากออก น้ำที่ได้จะค่อยๆแข็งเป็นวุ้นสีขาวใส

 

ลูกโอ้เอ๋วสดมีเปลือกสีเขียวและลูกโอ้เอ๋วแห้ง ภาพจาก http://blackwalnut.npust.edu.tw/archives/329

 

ในสมัยก่อนคนนิยมรับประทานโอ้เอ๋วเปล่าๆ ส่วนปัจจุบันการรับประทานโอ้เอ๋วของแต่ละที่แตกต่างกันเช่น ประเทศไต้หวันรับประทานเป็นเครื่องดื่มเรียกว่า น้ำไข่กบ ส่วนที่ภูเก็ตนั้นรับประทานโอ้เอ๋วเป็นของหวาน มีสามแบบ คือ โอ้เอ๋วใส่ถั่วแดงและเฉาก๊วย (ขาว ดำ แดง) โอ้เอ๋วใส่ถั่วแดง (ขาว แดง) และ โอ้เอ๋วใส่เฉาก๊วย (ขาว ดำ) บางคนนิยมใส่กล้วยและน้ำหวานด้วย แหล่งขายโอ้เอ๋วในจังหวเก็ตภูเก็ตที่สำคัญคือ โรงหนังสยามเก่า ปากซอยสุ่นอุทิศ

 

ภาพจากhttp://phuketcuisine.com/?p=548

 

ปัจจุบัน “โอ้เอ๋ว” ยังคงเป็นของหวานยอดนิยมที่มีอัตลักษณ์ของคนภูเก็ต และเป็นหนึ่งในสำรับอาหารหวานที่มี
อยู่มากมายในท้องถิ่นที่ผู้ไปเยือนพลาดไม่ได้อีกด้วย

ภาพจาก www.phuketcity.go.th/otop/detail/18

 

ข้อมูลอ้างอิง

https://th.wikipedia.org/wiki/โอ้เอ๋ว